วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วัดบ้านดอน







วัดบ้านดอน


ประวัติความเป็นมาของวัดบ้านดอน
วัดบ้านดอนเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองระยองมานับตั้งแต่ พ.ศ. 2432 ที่ชาวระยองให้ความเคารพแล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ ที่เก็บรักษาหนังใหญ่อายุร่วม 200 ปี ซึ่งพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิด บังคราม (บ้างว่า พระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม หรือ เกตุ ยมจินดา) เจ้าเมืองระยองคนแรก ซื้อมาจากพัทลุงเพื่อใช้แสดงในงานสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนอกจากเก็บรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชมแล้ว ชุมชนวัดบ้านดอนยังได้ทำการสืบสานประเพณีการเชิดหนังใหญ่ให้แก่ลูกหลานของชาวชุมชน และเปิดการแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกด้วย

ศาลขุนลำเมืองวัดบ้านดอน
                วัดบ้านดอนเป็นวัดมหานิกาย เดิม วัดสระประทุมนายวรณ์ได้ถวายที่ดินแปลงนี้เพื่อสร้างวัด เมื่อพ.ศ.2532 จึงได้พัฒนาด้วยความศรัทธาแรงกล้า นับถือขุนจำเมืองเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีความเดือดร้อนก็จะมาบอกกล่าวหรทอกราบไหว้ให้พ้นภัย

สัญลักษณ์ของวัดบ้านดอน
                -รูปพระ
                -รูปหนังใหญ่
                -รูปการนวด

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หนังใหญ่วัดบ้านดอน




ประวัติหนังใหญ่วัดบ้านดอน


ตามที่ได้สอบถามผู้สืบสานหนังใหญ่โรงวัดบ้านดอน และจาก ท่านพระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาส ตลอดจนทายาทของเจ้าของหนังใหญ่ ก็ได้ความว่า หนังชุดนี้มีอายุประมาณ 200 ปี รับงานแสดงมีชื่อเสียงอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย จนกระทั่ง พระยาศรีสมุทรโภค ชัยโชติสงคราม (เกตุ ยมจินดา) ซึ่งเป็นคนเก่าที่มีชื่อหมายเลข 1 ของทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง แต่ไม่ระบุ พ.ศ. ที่ดำรงตำแหน่ง จึงไม่ทราบแน่ชัด ได้ทราบกิตติมาศักดิ์ของหนังใหญ่ชุดนี้ ซึ่งกำลังแสดงอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ก็ได้ติดต่อซื้อมาทั้งชุดประมาณ 200 ตัว และได้จ้างครูหนังหรือนายโรงนี้มาเป็นครูฝึกถ่ายทอดให้กับคนในปกครองของพระยาศรีสมุทรโภค ชัยโชคชิตสงคราม เพื่อสืบทอดต่อมา ข่าวจากเครือญาติท่านเล่าว่า ในการนำหนังใหญ่ที่ซื้อจากจังหวัดพัทลุงมานี้ได้นำมาทางเรือแล่นข้ามอ่าวไทยฝ่าคลื่นใหญ่ลมแรง หนังมนุษย์ซึ่งซ้อนอยู่ข้างบนบางตัวหล่นลงทะเล ต้องตามเก็บ ตัวสำคัญคือนางสีดา (นางเอก) ช่วยกันหาอยู่นานก็ยังไม่พบผลสุดท้ายพบได้ คือติดอยู่ที่หางเรือสำเภา หนังที่ซื้อมาทางภาคใต้ จะเป็นฝีมือของช่างสมัยใด ที่ไหน
ไม่ทราบลายละเอียด ระยะหลังนำแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลระยอง (เหลือเจดีย์ให้เป็นประวัติอยู่เพียงองค์เดียวทางด้านทิศตะวันออก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับกรมศิลปากรแล้ว) ถือว่าเป็นวัดประจำจังหวัด หลังจากนำไปแสดงในงานสำคัญๆแล้วก็เก็บรักษาไว้ที่นั่น หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ. 2430 เศษ วัดบ้านดอนได้สร้างขึ้นแล้ว และผู้แสดงประจำหนังโรงนี้ที่ฝึกรับ
ถ่ายทอดมาจาก ครูประดิษฐ์ ครูหนังคนเดิมที่มาสอนให้ ก็เป็นคนชาวบ้านชากใหญ่ใกล้วัดบ้านดอน ปี่พาทย์ก็เป็นคนชาวทุ่งโพธิ์ไม่ห่างไกล ง่ายกับการนัดฝึกซ้อมและนำไปแสดงตามที่จังหวัดต้องการ จึงได้นำหนังใหญ่มาถวายวัด บ้านดอน อำเภอเมืองจังหวัดระยอง ผู้ที่รับมอบเป็นครูหนัง คือ นายเรือง นางแจ่ม รื่นเริง ได้ฝึกลูกหลานและชาวบ้านได้เล่นสืบต่อมา ปี่พาทย์ใช้ของ นายถั่ว ดนตรี ผู้ร่วมพากย์สืบทอดกันมาคือ นายสวม เป็นธรรม , นายช่ำ ขุมวรณ์อาภรณ์รัตน์ , ศึกษาเขียว โสภณ เมื่อ นายเรือง รื่นเริง ชรามากก็ได้มอบให้ นายสี รื่นเริง ผู้เชิดร่วมโรงซึ่งเป็นบุตรรับมอบเป็นครูหนังใหญ่ต่อมา และเมื่อเข้าวัยชราก็ได้มอบให้ นายเฉลิม มณีแสง เป็นครูหนัง พากย์ร่วมกับ นายเจิม ขอบอรัญ ต่อมา นายเฉลิม มณีแสง ถึงแก่กรรม นายถ่อย หวานฤดี ผู้เคยรับยื่นเป็นครูหนังพร้อมกับ นายเฉลิม มณีแสง เป็นครูหนังประจำวัดบ้านดอนนี้สืบต่อมา ส่วนเรื่องปี่พาทย์นั้นสืบทอดจาก นายถั่ว ดนตรี ก็คือ นายสาย วง นายฟุ้ง ชาวดอน ก็ไปร่วมแสดงกันด้วย และทยอยกันเสียชีวิต ปัจจุบันก็ใช้วง นายฉลอม พุทธมี และฝึกนักเรียนเข้าร่วมเล่นด้วย เนื่องจากหนังใหญ่ชุดนี้เป็นมรดกตกทอดมานาน ลวดลายสวยงามและเข้าใจว่าเป็นฝีมือช่างหลวง ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นมหรสพโบราณ ครูแรง มหรสพที่มาเล่นงานเดียวกันต้องมาคารวะครูหนัง ดังนั้นเวลาเก็บไว้ที่วัดจะเก็บไว้ในที่สูง ไม่ให้ผู้ใดเข้าไปเล่นหรือรบกวน ภัยธรรมชาติอาจทำให้สูญเสียไปตามกาลเวลา ตับคาบตัวหนังทำด้วยไม้ผุกร่อนได้ง่าย จึงจำต้องดูแลใกล้ชิด คนรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาดูแล หลังจากว่างเว้นการแสดงมานานหนังเก่าจึงผุพังลดจำนวนลงไป พร้อมๆกับคนรุ่นเก่าที่สูญเสียชีวิต เราเห็นความสำคัญควรอนุรักษ์และสืบทอดมรดกไทย จึงได้ฟื้นฟูดังปรากฎในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นในระยะหลัง ในคราวประกวดหมู่บ้านดีเด่น หมู่ที่ 1 ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง (บ้านชากใหญ่) พ.ศ.2523 ได้นึกถึงงานศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่เคยแสดงกันมา จึงได้ฟื้นฟูฝึกซ้อมหนังใหญ่ออกแสดง ทั้งงานหมู่บ้าน งานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์และเผยแพร่รายการโทรทัศน์ช่อง 5 ในปีพ.ศ. 2524 มีคณะกรรมการฟื้นฟูดูแลเป็นคณะกรรมการอนุรักษ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน ช่วงนั้น ปู่สี รื่นเริง เป็น-นายโรง และชราภาพจึงได้มอบ นายเฉลิม มณีแสง และ นายเจิม ขอบอรัญ รับช่วงเป็นนายพากย์ และผู้พากย์ ฝึกซ้อม และนำออกแสดงเผยแพร่ตามโอกาส ทางวัดบ้านดอน มีโครงการสร้างอาคารเก็บหนัง และซ้อมตัวหนังเพิ่มเติมจากที่ชำรุด พระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาส ได้สร้างอาคารที่เก็บไว้ 1 หลัง และเปิดใช้เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด ได้มาทอดกฐินวัดบ้านดอนร่วมกับชาวบ้าน ต่างก็ชื่นชมและอนุรักษ์หนังใหญ่ไว้สืบไป เมื่อมีอาคารเก็บหนังเก่า ก็คาดว่าตัวหนังจะคงอยู่ไปได้อีกนาน จึงได้ปรับปรุงไม้หนีบตัวหนัง (ตับหนีบ) จากเดิมซึ่งเป็นไม่ไผ่ ไม้หมาก ให้เป็นไม้เหลาชะโอน ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งที่ทนทานและศึกษาเรื่องการเก็บรักษา เห็นว่าการเก็บแบบวางเรียงคงจะสภาพดีจึงทำที่เก็บเพื่ออนุรักษ์ไว้ใช้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า และคิดสร้างตัวหนังใหญ่โดยการลอกแบบ เลือกตัวหนังตามเรื่องราวที่ นายอำนาจ มณีแสง ได้รับถ่ายทอดมาจาก นายเฉลิม มณีแสง ซึ่งเป็นครูหนัง โดยร่วมมือกับผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย คือ นายประเทือง เขตสมุทร พท. พายับ เป็นธรรม นายอุดม นัทธีประทุม และ นางสาว อุษา โชติกุล พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินครราชสีมา ดำเนินการลอกแบบและติดต่อช่างจัดทำ ทางวัดก็พยายามหาทุนทรัพย์จับจ่ายไป ได้รับความร่วมจากทุกฝ่าย ได้ตัวหนังใหม่มาร่วมแสดงกับตัวหนังเก่าอีก 77 ตัว

ตัวอย่างการแสดงหนังใหญ่

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การนวดแผนไทยและการอบสมุนไพรวัดบ้านดอน

กลุ่มอนุรักษ์การนวดไทยวัดบ้านดอน

ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและโรงพยาบาลวังจันทร์ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ11 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ตามภูฒิปัญญาชาวบ้าน เพื่อการรักษาโรคพื้นฐานเหมือนหมอโบราณที่สืบทอดกันมาและศึกษา หาความรู้ ความชำนาญจากแหล่งวิชาเพิ่มเติม โดยรับการสนับสนุน เรื่องอาคารสถานที่ (สร้างโรงนวด)จัดตั้งคณะกรรมการเข้าช่วยเหลือ จากทางวัดบ้านดอน โดยการนำของ พระครูปลัดวิรัตน์ อคคธมโม และมีนายเยี่ยม ท่าฉลาด เป็นประธาน มีกิจการนวด ประคบ และอบสมุนไพรให้ชื่อว่า ศูนย์อบสมุนไพร วัดบ้านดอน ครั้งแรก มีผู้ปฏิบัติงานทั้งนวด อบ ประคบ รวม 17 คน มีเตียง 5 เตียง ปัจจุบันมีเตียง 25 เตียง หมอ 25 คน บุคลากรรวมทั้งสิ้น 41 คน ได้รับการสนับสนุนจากทางราชการ อบต. อบจ. ด้วยดีเสมอมาและยกย่องให้เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ในตำบลเชิงเนินที่นับว่าดีเด่นซึ่งมีการนวดหลายอย่าง การประคบอบสมุนไพรเป็นที่สนใจ ซึ่งใช้ชื่อ กลุ่มอนุรักษ์การนวดไทยวัดบ้านดอน
ประโยชน์ของการนวด
1.คลายอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
2.การกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให่ดียิ่งขึ้น
3.นวดเนื้อคลายเครียดจากอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4.บรรเทาอาการปวดศีรษะโรคไมเกรน อัมพฤกษ์ อัมพาต


การใช้บริการ

                ใช้บริการนวดทั้งตัวมีท่าต่างๆเกือบ100ท่า หรือ นวดเฉพาะแห่ง เช่น นวดหน้า , นวดฝ่าเท้า , นวดศีรษะคลายเครียด
ประโยชน์ของการประคบ
การประคบสมุนไพรใช้ร่วมกับการนวดไทยให้ผลรักษาทั้งจากตัวยาสมุนไพรและความร้อน จึงช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำได้ดี คือ

1.       บรรเทาอาการปวดเมื่อย
2.       ลดอาการปวดบวมอักเสบของข้อ
3.       ลดอาการเคล็ดขัดยอกของกล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ
4.       ช่วยในการไหลเวียนของโลหิต
5.       ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดคลายตัว

ประโยชน์ของการอบสสมุนไพร

1.     กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น
2.     ช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ผด ผื่น กลากเกลื้อน
3.     ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วสำหรับสตรีหลังคลอด
4.     บรรเทาอาการปวดเมื่อยของร่างกาย
5.     แก้โรคเหน็บชา อัมพฤกษ์ อัมพาต
6.     ช่วยลดอาการหอบหืด
7.     ช่วยลดไขมันส่วนต่างๆของร่างกาย

ที่วัดบ้านดอนมีหมอประจำห้องอบช่วยเหลือแนะนำและดูแลประจำ ผู้ที่สนใจจะศึกษาฝึกอบรมปฏิบัติตามหลักสูตรการนวดแผนไทย โปรดติดต่อกับประธาน จุ๊ย แจ่มแจ้ง ได้โดยตรง โทร 094-012012


วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ที่ตั้ง '



ที่ตั้ง :
    วัดบ้านดอน หมู่4 ต.เชิงเนิน ใช้ทางหลวงหมายเลข36 มุ่งหน้าระยองผ่านบิ๊กซีระยอง ผ่านสีแยกวัดเกาะลอย จนไปถึงอีกสี่แยก ให้เลี้ยวซ้ายขับเข้าไปจนเจอสี่แยก ให้เลี้ยวขวาไปตามทาง วัดบ้านดอนจะอยู่ทางขวามือ หรือหากเลี้ยวซ้ายสี่แยกแรก(ริมเส้น36)ไม่ทัน ให้เลยไปเข้าทางหลวงหมาย3139 ที่สี่แยกหน้าจะมีทางเลี้ยวไปบรรจบที่วัดบ้านดอนได้เช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สมาชิก '

รายชื่อสมาชิก

นางสาวกัญญาภัค เวง   ชั้น ม.6/3  เลขที่ 14



 นางสาวเอลีญา วังชัย  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 15


 นางสาวกรองเพชร แสงวงศ์กิจ  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 17


 นางสาวสภัทร์พร อรรควุฒิวาณิชย์  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 18


 นางสาวจุฑามาส รุ่งโรจน์สารทิศ  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 19



นางสาวชนิกานต์ ภักดีประเสริฐ  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 25

 นางสาวปัณรสา เอี่ยมละออง  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 28

 นางสาวโชษิตา ไชยชมภู  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 29


นางสาวณัฐนรี ยาสะบู่  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 30

นางสาวกมลชนก อยู่ทรัพย์ซ้อน  ชั้น ม.6/3  เลขที่ 33